การออกกำลังกาย vs โรคซึมเศร้า

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

การออกกำลังกาย vs โรคซึมเศร้า

การออกกำลังกาย vs โรคซึมเศร้า



การออกกำลังกาย vs โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณ หรือคนใกล้ตัว และโรคนี้ มักจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การคิด การกระทำ จึงต้องได้รับการรักษาและการบำบัดอย่างถูกวิธี และการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้บำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้

 

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า นั้นต่างจากภาวะหรือความรู้สึกเศร้าทั่วไป ที่เมื่อรู้สึกเศร้าเสียใจ แต่พอเวลาผ่านไปก็อาการดีขึ้น แต่โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเป็นคนที่หดหู เศร้าหมอง มองโลกในแง่ลบ วิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้สึกเบื่อหน่ายไปซะทุกสิ่ง อะไรที่เคยชอบ เคยสนุก ก็กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่อยากจะทำอะไรหรือพบเจอใครอีก

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง นี่เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ และมีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์มากที่สุด โดยพบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน สารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (Serotonin) โดปามีน (Dopamine) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้  ซึ่งยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นจะออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลของระบบสารเคมีเหล่านี้

พันธุกรรม จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในการเกิดโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง โดยพบว่าคนที่มีญาติสายตรงที่เป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้คนนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป 3 - 4 เท่าเลยทีเดียว

ลักษณะความคิดโดยอัตโนมัติ อาจจะเป็นในบางคน สำหรับคนที่ปกติแล้วเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย มัจจะมองแต่อดีตและความผิดพลาดของตัวเองเสมอ คนเหล่านี้ เมื่อเจอสถานการณ์ที่กดดัน มักมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย

 

ผลจากการออกกำลังการที่มีต่อโรคซึมเศร้า

การออกกำลังกายนี้ส่งผลโดยตรงทั้งในด้านจิตวิทยาและเรื่องของสารเคมีในสมอง การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphins) ออกมา สารเอ็นโดรฟินนี้เป็นสารแห่งความสุข ที่จะทำให้รู้สึกมีความสุขขึ้น มีอารมณ์ที่ดีขึ้น ลดความเจ็บปวดได้ คล้ายกับยาแก้ปวด ซึ่งเมื่อเราออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องนั้นสารเอ็นโดรฟินจะหลั่งออกมาทั่วร่ายกาย รวมถึงไขสันหลัง และสมองด้วย ซึ่งสารเอ็นโดรฟินที่หลังออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ออกกำลังกาย จะไปช่วยทดแทนสารเคมีในสมองที่บกพร่องของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) โดปามีน ( Dopamine) และ นอร์เอพิเนฟฟริน (Norepinephrine) และสารเอ็นโดรฟินที่หลั่งออกมา อาจมีผลกระตุ้นทำให้เกิดสมดุลของสารเคมีในสมองที่พร่องไปของผู้ป่วยซึมเศร้า ค่อย ๆ คืนสภาพสู่ภาวะสมดุลได้ ในเชิงจิตวิทยา การออกกำลังกายจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น รักตัวเองมากขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น มีรูปร่างที่ดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกได้ว่าร่างกายของตัวเองกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็จะรู้สึกดี และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เล่น ฟิตเนส อย่างไร ไม่ให้น่าเบื่อ

โปรแกรมการออกกำลังกาย เรียกความฟิต



บทความที่น่าสนใจ

1 เดือน เราสามารถลดไขมันได้มากสุดเท่าไหร่
ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสมกับอายุของเรากันนะ