Warm Up สำคัญเทียบเท่าการออกกำลัง

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

Warm Up สำคัญเทียบเท่าการออกกำลัง

Warm Up สำคัญเทียบเท่าการออกกำลัง



การออกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างการเรานั้นจะเห็นได้ว่า ต้องวอร์มอัพก่อนตลอดทุกครั้ง ไม่งั้นถ้าเราออกกำลังกาย โดยที่ไม่วอร์มก่อน จะเกิดอาการบาดเจ็บได้ ทั้งปวด ทั้งเจ็บร้าว

 

 

วอร์มอัพ  ( Warm Up )

เป็นการยืดเหยียดร่างกาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ก่อนการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่ควรมองข้ามเลย เพราะก่อนการ ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของคนเรา ยังอยู่ในภาวะที่ปกติอยู่ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการ  ( Warm Up ) ซะก่อน ซึ่งวอร์มอัพนั้นก็คือ การอบอุ่นร่างกายในเบื้องต้น เพื่อให้ร่างกายมีภาวะ ที่พร้อมก่อนที่จะมีการ ออกกำลังกาย  ทั้งในนอกสถานที่ และใน ฟิตเนส เป็นต้น

 

 

ทำไมต้อง วอร์มอัพ ( Warm Up )

การออกกำลังกาย ในยุคสมัยปัจจุบัน จัดว่าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีไอดอลอย่างเช่น ดารา นักร้อง นักแสดง ที่มีร่างกายที่สมส่วน สวยงามจึงเป็นค่านิยม ในการออกกำลังกาย กันมากในขณะนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้คนชอบละเลย ในการออกกำลังกายนั่นคือการ วอร์มอัพ ( Warm Up ) หรือการอบอุ่นร่างกายนั่นเอง การอบอุ่นร่างกาย ถือเป็นขั้นตอน ที่ครูพละ เทรนเนอร์ หรือผู้ฝึกสอน ย้ำนักย้ำหนาว่า “ ต้องทำ ” ก่อน และหลัง การฝึกซ้อม และในการแข่งขัน เป็นต้น

 

 

วอร์มร่างกาย ควรทำกี่นาที ? แล้ววอร์มส่วนไหนบ้าง ?

 

วอร์มร่างกาย ( Warm Up ) ควรทำอย่างน้อย 5 - 15 นาที

 

การยืดเส้น ยืดสาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ทั้งตัว เช่น แขน ขา หัวไหล่ เอว ข้อเท้า เป็นต้น และที่สำคัญ คือการ วอร์มในส่วน ที่เราจะใช้เยอะ ๆ เช่น วิ่ง ก็ต้อง วอร์ม ข้อเท้า เท้า เป็นต้น เพียงเท่านี้ทุก ๆ คนที่ชื่นชอบ การออกกำลังกาย ก็จะปลอดภัย จากอาการบาดเจ็บ ที่อาจที่เกิดขึ้นขณะ เล่นกีฬา หรือหลังจากเล่นกีฬา ได้แล้วค่ะ

 

อย่าลืมว่า ก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การอบอุ่นร่างกาย หรือวอร์มอัพ ( Warm Up ) การอบอุ่นร่างกาย เป็นการเตรียมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออวัยวะที่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว ให้พร้อมที่จะทำงาน เพื่อป้องกัน และลดอาการ บาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น จากการออกกำลังกาย โดยทั่วไป การอบอุ่นร่างกาย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

 

1 การอบอุ่นร่างกาย เป็นการทำให้อุณหภูมิ ของร่างกายสูงขึ้น หรือร้อนขึ้น

 

การยืดกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น เพื่อให้การเคลื่อนของ ข้อต่อเป็นไปอย่างสะดวก ไม่เกิดการฉีกขาด สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอากาศร้อน การทำให้อุณหภูมิ ของร่างกายสูงขึ้น การอบอุ่นร่างกายจึงไม่ค่อยทำกันนาน เท่ากับประเทศ ที่มีอากาศหนาว ที่จะต้องใช้เวลาในการ อบอุ่นนานพอสมควร

 

 

 

2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ของเราให้พร้อมใช้งาน

 

หากต้องการ จะทราบว่ากล้ามเนื้อของเรา ยืดได้ดีมากน้อยเพียงใด อาจทำได้ด้วยวิธี ง่าย ๆ ดังขั้นตอนนี้

 

- ยืนตัวตรง ข้อเข่าเหยียดตรง

- แล้วค่อย ๆ ก้มตัวลงมาทางด้านหน้า

- พยายามใช้ปลายมือ แตะที่นิ้วเท้า

 

 

ถ้าสามารถแตะได้ แสดงว่ากล้ามเนื้อ ทางด้านหลังไม่ตึง แต่ถ้านิ้วมือยังห่างพื้นมาก แสดงว่ากล้ามเนื้อ ทางด้านหลังยังตึงมาก ควรต้องยืดกล้ามเนื้อ ทางด้านหลังโดยเฉพาะ บริเวณด้านหลังของต้นขา สะโพก และเอวให้มากขึ้น

 

 

การออกกำลังกายจะมี 5 ขั้นตอน คือ

- การอบอุ่นร่างกาย ( warm up )

- การยืดกล้ามเนื้อ ( stretching )

- การออกกำลัง ( training zone exercise )

- การผ่อนกาย ( cool down )

- การยืดกล้ามเนื้อ ( stretching )

 

 

การออกกำลังกายนั้น หรือ การเล่น ฟิตเนส ทั่ว ๆ ไป ก็ต้องวอร์มกันก่อน เพื่อลดอากาศบาดเจ็บ ไม่ใช่อยู่ ๆ ไปวิ่ง ไปยกน้ำหนัก ทำไม่ได้นะคะ จะเกิดผลเสียตามมา และอันตรายมาก ๆ ด้วย หากท่านใด กำลังมองหา สถานที่ หรือ FITNESS24  ชั่วโมง เรายินดีให้บริการนะคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ดูแลร่างกายยังไง ให้สุขภาพดี และ ไม่โทรม

Battle Rope ออกกำลังกายทางเลือกใหม่



บทความที่น่าสนใจ

พฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้อง ในขณะที่ไป ฟิตเนส ( Fitness )
เวท เทรนนิ่ง คือการออกกำลังกายแบบไหนกันนะ



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: