ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ดีจริงไหม

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ดีจริงไหม

ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ดีจริงไหม



เพื่อน ๆ รู้ไหมคะ ว่านอกจากการ ออกกำลังกาย เป็นเวลาแล้ว ยังมีการ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) อีกด้วยซึ่งเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนคงจะได้ยินกันมาบ้าง วันนี้เราจึงจะมาแนะนำ การ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง กันค่ะ ว่าดีจริงไหม

 

ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ก็เหมือนการ ออกกำลังกาย ที่เป็นกระแสนิยมแบบอื่น ๆ ตรงที่ มีทั้งคนที่ เป็นแฟนตัวยง และ คนที่รู้สึก เคลือบแคลงสงสัย บางคนก็บอกว่า มันเป็นวิธีลดน้ำหนัก ที่เร็ว และ มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางคน คิดว่ามันเสียเวลา และ เปลืองพลังงาน

 

การออกกำลังกาย แบบ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ไม่ได้หมายความว่า เราต้องทำ Intermittent Fasting ( IF ) แต่มันเป็นอะไรที่เรียบง่าย อย่างเช่น การออกไปวิ่ง ก่อนทานอาหารเช้านั่นเอง

 

ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ดีกว่า การทานอาหารไปก่อน ( Fed State ) รึเปล่า?

ก่อนอื่นเลย เราไม่ควรมองว่า เราสามารถ เผาผลาญไขมัน ได้แค่ไหน เวลาออกกำลังกาย เพราะร่างกายเรา ไม่ได้ทำงาน หรือ เผาผลาญ แค่ช่วงนั้น ดังนั้นการที่จะให้มี การเปลี่ยนแปลง ของไขมัน ( Fat ) และ กล้ามเนื้อในร่างกาย เราควรมองเป็นระยะเวลา อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ว่าเผาผลาญไปเท่าไหร่ และ ทานเข้ามาเท่าไหร่ นั้นก็แปลว่า การ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) นั้นไม่ได้มีอะไรพิเศษ หรือ ส่งผลอะไร กับมวลไขมัน ( Fat ) และ กล้ามเนื้อ ในร่างกายเรา ไปกว่าการทานอะไรไป ( Fed State ) ก่อนออกกำลังกาย

 

จริงอยู่ที่ถ้าเราทาน อาหารพวกแป้ง ( Carb ) ไปก่อนออกกำลังกาย เราจะนำ อาหารพวกแป้ง ( Carb ) ตรงนี้ มาเผาผลาญ เป็นพลังงาน แต่อย่าลืมว่า ร่างกายไม่ได้หยุดทำงาน แค่นั้น เราจึงดึงไขมัน ( Fat ) มาเผาผลาญ ด้วยเช่น กันหลังออกกำลังกายไปแล้ว และ ก็สลับกัน เช่นถ้าไป ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ร่างกายก็จะ เผาผลาญไขมัน ( Fat ) เวลาออกกำลังกาย แต่ก็จะ เผาผลาญอาหาร ที่เราทานเข้าไป หลังออกกำลังกาย นั่นเอง

 

ประโยชน์ ของการ คาร์ดิโอ ( Cardio ) ตอนท้องว่าง

การ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) มีข้อดี คือ เพิ่มการใช้ไขมัน ( Fat ) เป็นพลังงาน หรือ นำไขมันมาใช้ ( Fat utilization ) เพียงเล็กน้อย ที่ความหนักต่ำ ๆ

 

1.เพราะถ้าใช้ความหนักสูงขึ้น แหล่งพลังงานหลัก คือ คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) แต่ร่างกายขาด คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) นั้นยิ่งทำให้ต้องสลาย กล้ามเนื้อ หรือ โปรตีน ( Protein ) ออกมามากขึ้น

 

2.ความหนักสูงขึ้น ร่างกายก็สลาย กรดไขมัน ( Fatty acid ) ออกมามากขึ้นก็จริง ในขณะ คาร์ดิโอ ( Cardio ) ตอนท้องว่าง แต่อัตราการสลายนั้นมากกว่า ความสามารถ ที่ร่างกายจะใช้ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เราจะมีปริมาณ กรดไขมัน ( Fatty acid ) มาล่องลอย อยู่ในเลือดเรา อย่างมากมาย แต่ร่างกายเอาไปใช้ไม่ได้ และ ในที่สุด กรดไขมัน ( Fatty acid ) เหล่านี้ ก็จะถูกกลับไปเก็บ เป็นไขมันสะสมอีกครั้ง หลังออกกำลังกาย

 

เคล็ดลับสำหรับ คนที่ต้องการใช้วิธี ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio )

หากต้องการ ออกกำลังกาย แบบ ออกกำลังกายตอนท้องว่าง ( Fasted Cardio ) ควรทำตามกฎเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัย

 

- อย่าออกกำลังกาย แบบคาร์ดิโอ ( Cardio ) นานเกิน 60 นาที ถ้าหากยังไม่ได้ทานอาหาร

- ใช้ระดับความเข้มข้น ในการออกกำลังกาย แบบ ปานกลาง หรือ ต่ำ เท่านั้น

- ต้องมีการดื่มน้ำ ระหว่างออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้เกิด ภาวะขาดน้ำ ( Dehydration )

- อย่าลืมว่า รูปแบบไลฟ์สไตล์ อาหารการกิน เป็นปัจจัยหลัก ที่สามารถทำให้น้ำหนัก เพิ่ม หรือ ลดลง มากกว่าระยะเวลา ในการออกกำลังกาย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เลือก สปอร์ตบรา ออกกำลังกาย ไป ฟิตเนส กัน

ออกกำลังกาย ปั้นก้น สวย ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง



บทความที่น่าสนใจ

เทคนิค การสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อไป ฟิตเนส ( Fitness )
ออกกำลังกาย สไตล์ผู้สูงอายุ