ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่น ฟิตเนส ( Fitness )

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่น ฟิตเนส ( Fitness )

ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่น ฟิตเนส ( Fitness )



ไม่ว่าจะเริ่มเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) มานานแล้ว หรือเพิ่งจะเริ่มก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากที่ไม่ควรจะละเลยก็คือ การป้องกันไม่ให้ตนเองต้องบาดเจ็บ เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายในการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ของเราได้

 

     เป็นความจริงที่ว่า ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสที่จะได้รับการบาดเจ็บจากการ ออกำลังกาย ก็เพิ่มขึ้น เพราะความว่องไว คล่องตัวจะน้อยลง อีกทั้งมวลกระดูก และ กล้ามเนื้อก็น้อยลงด้วย การเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ให้ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อเรามีอายุมากขึ้น

 

     คนอายุมากจะหายจากอาการบาดเจ็บช้ากว่าคนอายุน้อย และ การ ออกกำลังกาย โดยขาดความระมัดระวังไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม มักจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • บาดเจ็บเส้นเอ็น เนื้อเยื่อ ที่เป็นชุดเชื่อมต่อกับกระดูก
  • เจ็บกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในชุดที่เชื่อมต่อกับกระดูก
  • เอ็นอักเสบ จากการใช้งานหนักเกินไป
  • บาดเจ็บบริเวณเอ็นข้อเข่า เอ็นข้อไหล่ ซึ่งอาจจะเกิดการฉีกขาดได้

     ดังนั้น จึงควรป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเหล่านี้ เพราะหากเกิดขึ้น อาจจะทำให้ต้องหยุดพักรักษาตัวเอ็นเวลานานเป็นสัปดาห์

 

     สำหรับการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพราะการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) นั้น มีข้อแนะนำ 10 ข้อดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์ ควรตรวจเช็คร่างกายก่อนที่จะเริ่มเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) เพื่อให้แพทย์ช่วยวินิจฉัยว่า สภาพร่างกายโดยรวมมีความพร้อมที่จะเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) หรือไม่ มีโรคใดที่ต้องทำการรักษาก่อนการเล่นหรือไม่ มีชนิดใดที่รับประทานอยู่แล้วต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ เป็นต้น

2. เลือกโปรแกรมการเล่นให้เหมาะสม โปรแกรมการเล่นหนักอาจจะไม่เหมาะหากมีอาการของโรคบางอย่างเช่นโรคข้ออักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับกระดูก อาการของโรคเหล่านี้อาจจะเหมาะสำหรับการออกกำลังจำพวกว่ายน้ำ  หรือแอโรบิค ซึ่งจะไม่ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายต้องรับงานหนักจนเกินไป

3. เรียนรู้เทคนิคในการ ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม และถูกต้อง อย่าเริ่มก่อนที่จะได้ทราบวิธีการเล่นที่ถูกต้องก่อน อย่างเช่นการเล่นท่า squat ที่นิยมกัน ก็จะต้องรู้ท่าที่ถูกต้อง ควรจะปรึกษาเทรนเนอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน ท่าทางการเล่นแต่ละท่าต้องถูกต้อง และควรทำให้ถูกต้องเสมอในทุก ๆ ครั้ง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ

4. เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ทั้งเสื้อผ้าควรสวมใส่สบาย ทำให้การ ออกกำลังกาย เป็นไปด้วยความสบาย คล่องตัว อากาศถ่ายเท ส่วนรองเท้า ก็ควรสวมสบาย รองรับรูปเท้า และ ส้นได้เป็นอย่างดี และ ไม่ควรเลือกรองเท้าที่แน่น หรือคับจนเกินไป

5. ค่อยเป็นค่อยไป อย่าเพิ่งเริ่ม ออกกำลังกาย แบบใหม่ ๆ อย่างเร่งรีบ เพราะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูง แนะนำว่าให้เริ่มอย่างช้า ๆ อย่างเช่นถ้าเป็นการปั่นจักรยาน ก็ให้เริ่มที่ความเร็วต่ำ ๆ ก่อนสักพัก แล้วค่อย ๆ เพิ่มความเร็วเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อม

6. ต้องวอร์มร่างกายก่อนเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) เสมอ เพราะหากกล้ามเนื้อยังไม่อุ่นพอ ก็มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูง การวอร์มอย่างเหมาะสมทำให้เลือดไหลเวียนดี กล้ามเนื้อไม่ฝืด ร่างกายตื่นตัว ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บก็น้อยลง การวอร์มอาจจะเป็นการยืดแขน ยืดขา ยกแขน ยกขาสัก 10 นาทีก่อนการเล่น ที่สำคัญคือการวอร์มนี้ ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อฉีกขาดได้

7. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เมื่อ ออกกำลังกาย เราจะเสียเหงื่อ ดังนั้น ควรดื่มน้ำก่อนการ ออกกำลังกาย เสมอ และในระหว่างการเล่นก็ควรมีช่วงหยุดพักเพื่อจิบน้ำบ่อย ๆ และ ควรทำเป็นนิสัยด้วย

8. เมื่อจะเลิกเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ควรค่อย ๆ ทำให้ร่างกายเย็นตัวลง ไม่ควร ออกกำลังกาย อย่างหนักแล้วเลิกทันที แต่ให้ค่อย ๆ ลด และผ่อนลงอย่างช้า ๆ สัก 10 นาที ก่อนเลิก เพื่อให้ร่างกายเย็นลง แต่ยังคงความยืนหยุ่น

9. ควรเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อย่างหลากหลาย เช่น หากชอบโยคะ ก็ลองเปลี่ยนมาเล่นอย่างอื่นบ้าง เช่น แอโรบิคในน้ำ เทนนิส หรือ การเต้น ความหลากหลายทำให้มีการใช้งานกลุ่มของกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ช่วยให้ผู้เล่นไม่เบื่อ และ ทำให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวจากท่าที่เล่นมาก่อนหน้านี้

10. รู้ว่าเมื่อไรควรจะต้องหยุด หากมีอาการบาดเจ็บ มีอาการปวดจุดใด ๆ ไม่ควรเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) หากมีความเจ็บปวดระหว่างการเล่น ต้องหยุดทันที รวมทั้งหากมีอาการวิงเวียน หายใจหอบถี่ เจ็บหน้าอก ก็ต้องหยุดและควรปรึกษาแพทย์

 

     ทั้งนี้ หากเกิดการบาดเจ็บขึ้นมาในระหว่างการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ก็สามารถจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ดังนี้

  • ประคบน้ำแข็งทันทีที่เกิดการบาดเจ็บ ประคบครั้งละ 15-20 นาที โดยให้นำน้ำแข็งนั้นมาห่อกับผ้าขนหนูก่อน และ เมื่อพ้น 48 ชั่วโมง แล้วให้เปลี่ยนมาประตบอุ่นแทน
  • พันผ้าในบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ แต่ไม่ควรพันจนแน่นเกินไป
  • พักการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณที่บาดเจ็บจนกว่าจะหาย
  • ใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ตามคำสั่งของแพทย์

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เครื่องเล่นใน ฟิตเนส ( Fitness ) ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง

การเลือกใช้ น้ำหนัก เครื่องออกกำลังกาย ใน ฟิตเนส ( Fitness )



บทความที่น่าสนใจ

วอร์มอัพ ร่างกายให้พร้อม ก่อนออกกำลังกาย ใน ฟิตเนส
รวมท่า ออกกำลังกาย เสริมสร้าง กล้ามเนื้ออก



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: