เคล็ดลับช่วงเวลาที่ไม่ควรออกกำลังกาย

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

เคล็ดลับช่วงเวลาที่ไม่ควรออกกำลังกาย

เคล็ดลับช่วงเวลาที่ไม่ควรออกกำลังกาย



     การออกกำลังกาย นับเป็นเรื่องที่ดีและทำให้สุขภาพแข็งแรง จึงควรทำแต่พอดี ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป เพราะถ้าน้อยก็จะไม่เห็นผลอะไรกับร่างกาย นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่ดีนั้น ก็ควรเลือกออกในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย และแน่นอนว่าถ้าเลือกเวลาผิดอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้

 

ช่วงเวลาใดบ้างที่คุณไม่ควรออกกำลังกาย มีดังต่อไปนี้

1. สภาวะอดนอน และหอบหืด ในขณะที่การพักผ่อนไม่เพียงพอ คุณควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือเว้นการออกกำลังกายอย่างหนักออกไปก่อน เพราะในสภาวะที่พักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีระบบการทำงานของร่ายกายบางส่วนที่ไม่สมดุล เช่น กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเครียด “คอร์ติซอล” ให้ออกมาดักเก็บไขมันและเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ และมีภูมิต้านทานที่ลดต่ำลง

 

2. ท้องเสีย เป็นอาการเจ็บป่วยชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก จะต้องหยุดการออกกำลังกายหรืองดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกทุกประเภท เพราะขณะที่คุณออกกำลังกายจะทำให้มีการเสียน้ำเพิ่มขึ้นอีก ไม่ใช่แค่น้ำอย่างเดียว มันจะเป็นผลพ่วงไปถึงแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย ซึ่งถ้าคุณขาดแร่ธาตุที่จำเป็นเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ร่างกายขาดสมดุล และเพลียหนักถึงขั้นไม่สบายได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วหากบางรายเป็นถึงขึ้นหนักมากอาจจะมีอาการไปถึงหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ จากสภาวะขาดโซเดียมและโพแทสเซียม เป็นต้น

 

3. ปวดไมเกรนรุนแรง อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรืออาการไมเกรนนั้น จะมีอาการปวดร้าว ตาพร่ามัว ควรหยุดการออกกำลังก่อนชั่วคราว ถ้าหากมีอาการปวดมากๆ อย่าออกกำลังกายเด็ดขาด เพราะอาการปวดศีรษะ เกิดจากสภาวะความดันสูง ผลจากการออกกำลังกายในช่วงไมเกรน อาจเกิดผลที่ไม่คาดคิดกับตัวคุณเองได้ เช่น เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่ายขึ้น

 

4. มีไข้ติด หรือเชื้อหนัก สำหรับหนุ่มๆ ที่มีอาการไม่สบายเนื้อตัว หรือสงสัยว่าติดเชื้ออะไรสักอย่างที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายไปก่อน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือไปปรึกษาคุณหมอว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่นั้นสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด เพราะอาการเป็นไข้ตัวร้อน จะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่าถ้าคุณไปออกกำลังกาย อาจจะมีผลเรื่องของการอักเสบต่างๆ ตามมาอีกด้วย

 

5. หลังการผ่าตัด อาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัด แน่นอนอยู่แล้วว่าคุณหมอต้องห้ามออกกำลังกายอย่างแน่นอน หลังจากการผ่าตัดแล้วควรรับคำแนะนำจากคุณหมอเรื่องของการออกกำลังกาย เพราะการผ่าตัดทุกประเภท จะออกกำลังกายตามความหนัก - เบา แตกต่างกันออกไป ซึ่งผลเสียของการออกกำลังกายอย่างหนักขณะที่มีแผลผ่าตัด คืออาจจะทำให้แผลฉีกขาดหรืออักเสบได้

 

     ทราบอย่างนี้แล้ว ถ้าไม่อยากให้สุขภาพของคุณแย่ลง อย่าซ้ำเติมร่างกาย ด้วยพฤติกรรมที่ทำลงไปแบบผิด ๆ เลย ไม่งั้นสุขภาพคุณ อาจจะเสื่อมหรือล้าได้ การป้องกันที่ถูกวิธี ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และเอาใจใส่ร่างกายให้ดีอีกด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการเสียเหงื่อ

กระโดดเชือกอยู่บ้านกันดีกว่า

ไปฟิตเนสอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19?



บทความที่น่าสนใจ

ออกกำลังกาย บริหาร ต้นแขน ให้กระชับ
เทคนิค การสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อไป ฟิตเนส ( Fitness )