การออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจ

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจ

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจ



การออกกำลังกาย  การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหนก็ตาม สามารถออกกำลังกายบางประเภทได้ในเหมือนกัน

หากเราใช้ชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ (
Heart Disease ) และหลอดเลือด สามารถแก้ไขได้เริ่มต้นจากออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจ ( Heart )

ผู้ป่วยโรคหัวใจ ( Heart Disease ) อาจมีความเสี่ยงหลายอย่างในการออกกำลังกาย เพราะหัวใจที่ไม่แข็งแรงเต็มที่ 100 % จึงทำให้ออกกำลังกายบางประเภทไม่ได้ แต่อย่างไรก็ควรออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น แต่ต้องทำอย่างถูกวิธีเท่านั้น

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

     การออกกำลังกายมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ( Heart Disease ) เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการขยายตัว กล้ามเนื้อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

วิธีออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการโรคหัวใจ

     ผู้ป่วยโรคหัวใจ ( Heart Disease ) ควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้แพทย์ประเมิน สภาพร่างกาย โรคแทรกซ้อน และแนะนำให้เรียนรู้อาการ หรือสัญญาณเตือน ในขณะออกกำลังกาย หรือหลังจากออกกำลังกาย

- ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ และหัวใจให้พร้อม อบอุ่นร่างกาย 10 - 15 นาทีจะช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจ ( Heart )

- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ( Aerobic Exercise ) เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ออกกำลังกายอย่างน้อย 20 นาที

- การยกน้ำหนัก ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ควรเลือกน้ำหนักที่ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยยก ดัมเบล ( Dumbell  ) ขวดใส่น้ำ หรือใช้อุปกรณ์ในฟิตเนส ทำเป็นเซ็ต เซ็ตละ 10 ครั้ง อย่าหักโหมจนเกินไป หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นรัว หรือปวดกล้ามเนื้อให้หยุด แล้วหาที่นั่งพักทันที

- ออกกำลังกายประมาณ 20 - 30 นาทีต่อครั้ง และควรปฏิบัติต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

- การออกกำลังกายในประเภทที่เหมาะสม คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  ( Aerobic Exercise ) การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ กายบริหาร หรือโยคะ ที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวหนักมาก

- กายบริหาร หรือโยคะ เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างช้า ๆ กล้ามเนื้อไม่ฉีกขาด ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ หายไป

- หากมีไข้ ท้องเสีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ให้งดออกกำลังกาย
 

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

การเดินเร็ว

การเดินเร็ว จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ ร้อยละ 30 ควรเดินเร็วสัปดาห์ละ 1 - 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

การวิ่ง

การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงสูบฉีดเร็วขึ้น ลดความเครียด และช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ แข็งแรง

การว่ายน้ำ

การว่ายน้ำ ช่วยให้เรามีสุขภาพหัวใจดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และยังเป็นตัวพยุงน้ำหนักได้ดี แม้ว่าจะออกกำลังมาก แต่จะรู้สึกเหนื่อยน้อยลง

ประโยชน์จากการออกกำลังกาย

1. ระดับสาร แคททีโคลามีน ( Catecholamine ) ซึ่งเป็นสารร่างกาย สร้างขึ้นในภาวะที่เป็นโรคหัวใจวาย หากสารนี้มีมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย หากได้ออกกำลังกายจะมีปริมาณลดลง

2. การออกกำลังกายช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น

3. การทำงานของเซลล์เยื่อบุผิวหลอดเลือดดีขึ้น ( Endothelial ) ทำให้มีการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายได้มากขึ้น เลือดไปเลี้ยงแขนขา และหัวใจเพิ่มขึ้น

4. การออกกำลังกายทำให้หัวใจมีการปรับตัวทำงานดีขึ้น ทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง และเพิ่มปริมาณเลือดในการบีบตัวแต่ละครั้ง

5. อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดลดลง

6. อัตราการเกิดโรคหลอดหัวใจลดลง

7. การออกกำลังกายสามารถทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายชนิดคลายตัวผิดปกติ ( Diastolic dysfunction ) เป็นภาวะหัวใจ ซึ่งเกิดจากหัวใจไม่คลายตัวเพื่อรับเลือด ทำให้การไหวเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจน้อยลง มักเกิดในผู้ที่สูงอายุ กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดหัวใจตีบ

8. การออกกำลังกายทำให้หัวใจเล็กลง จะมีความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง การใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น

9. ป้องกันการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ

10. สภาวะจิตใจดีขึ้น เพราะเมื่อเราออกกำลังกายสุขภาพเราดี สภาพจิตใจก็ดีขึ้นตาม

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกาย สามารถเลือกออกได้หลายประเภท อยู่ที่สภาพร่างกายของแต่ละคน ก่อนออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อประเมิน ว่าเราสามารถออกกำลังกายแบบใดได้บ้าง

หากใครไม่รู้ว่าเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไรดี ก็สามารถมาเริ่มต้นจาก ฟิตเนส (
fitness ) ได้ เพราะ ฟิตเนส มีหลายที่ให้เลือกที่ใกล้บ้านคุณ หรือใครอยู่ในย่าน พระอาทิตย์ ข้าวสาร หรือย่านใกล้เคียงก็สามารถ เลือกมาเล่นที่ Fit24 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ได้เช่นกัน

การออกกำลังกาย สามารถออกได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้มีสุขภาพแข็งแรง


บทความเพิ่มเติม

โปรแกรมการออกกำลังกาย เรียกความฟิต
เลือกเสื้อผ้า รองเท้า สำหรับ ชาวฟิตเนส
ทุกก้าวนั้นสำคัญ ประโยชน์ของการวิ่งจ๊อกกิ้ง


 



บทความที่น่าสนใจ

ฟิตเนส ( Fitness ) แล้ว สิ่งสำคัญ ห้ามลืม คูลดาวน์ กันด้วยนะ
อุปกรณ์ที่ช่วยให้การออกกำลังกายใน ฟิตเนส ง่ายขึ้น